เครื่องมือสำหรับแผนผังร้านค้า
แต่เดิมงานวางผังโครงสร้างร้านค้าเป็นงานของฝ่ายปฏิบัติการและช่างเทคนิค โดยละทิ้งความเข้าใจของผู้บริโภคและมุมมองทางการค้า
แต่ไม่เป็นดังนั้นอีกต่อไป
Retail Floor Planner คือโปรแกรมสำหรับออกแบบผังร้านค้าที่จะช่วยเขื่อมโยงข้อมูลต่างๆมารวมกันไว้ที่เดียวไม่ว่าจะเป็นมุมมองของสถาปนิก, ผู้จัดการกลุ่มผลิตภัณฑ์, ฝ่ายปฏิบัติการ เพื่อสะดวกในการวิเคราะห์ และนำไปใช้งานในขั้นตอนต่อไป
มุมมองทางการค้าและกับการจัดการร้านค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
ด้วยการรวบรวมองค์ประกอบที่จำเป็นต่างๆเข้ามาไว้ที่เดียวกัน ทำให้คุณสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้นดังนี้:
- ผลผลิตทางการเงินที่เพิ่มขึ้นด้วยการจัดวางตำแหน่งของสินค้าแต่ละกลุ่มให้เหมาะสม
- ลดเวลาในการปรับเปลี่ยนผังร้าน และช่วยให้การเปิดตัวร้านใหม่ทำได้เร็วขึ้น
- เพื่มประสิทธิภาพในการวางแผนเพื่อสั่งซื้อชั้นวางสินค้า และโครงสร้างต่างๆ
- มั่นใจว่าภาพลักษณ์ขององค์กรจะสื่อสารได้อย่างดีในผังร้านค้า
- เพิ่มประสบการณ์ดีๆให้กับลูกค้าในการเลือกซื้อสินค้า
เชื่อมโยงกับระบบอื่น
Retail Floor Planner มีความยืดหยุ่นและรองรับข้อมูลที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจากพลาโนแกรม, สามารถนำเข้าข้อมูลในรูปแบบไฟล์ Excel และข้อมูลอื่นจาก
ระบบ IT รวมทั้งข้อมูลการตลาดจากบริษัทวิจัย
และสุดท้ายยังสามารถจัดเก็บข้อมูลพลาโนแกรมในรูปแบบฐานข้อมูลที่มีความเชื่อมโยงกัน (relational database) ซึ่งจะยี่งทำให้การเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบต่างๆ ทำได้ง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
|
จำลองสถานการณ์เพื่อผลที่ดีขึ้น
Retail Floor Planner อำนวยความสะดวกให้คุณจำลองความเป็นจริงได้โดยง่ายและรวดเร็ว โครงสร้างทางกายภาพเช่นผนัง, กำแพง , พื้นที่จำหน่ายเช่น เบย์, กอนโดล่า, ตู้แช่ ฯลฯ ได้อย่างรวดเร็วทั้งนี้ยังสามารถใช้งานร่วมกับ โปรแกรมสำเร็จรูปเช่น AutoCAD ได้อีกด้วย
ขั้นตอนต่อไปคือวางสินค้าในตำแหน่งที่ต้องการและกำหนดพื้นที่ที่เหมาะสม
ทำการตัดสินใจอย่างชาญฉลาด
การจำลองภาพผังร้านค้าทำให้เห็นข้อมูลเชิงลึกของพื้นที่ต่อกลุ่มสินค้า, ต่อการจัดจำหน่าย หรือต่อแผนก ทั้งนี้ยังสามารถเปรียบเทียบกับส่วนแบ่งทางการตลาดหรือร้านค้าที่ใช้อ้างอิงได้ นอกจากนั้นยังสามารถสร้างรายงานเพื่อใช้ในการสั่งซื้อชั้นวางสินค้าและโครงสร้างต่างๆ ทำให้เลี่ยงความล่าช้าในการดำเนินการหรือการสั่งของมามากเกินจำเป็น
Retail Floor Planner ช่วยสนับสนุนการพัฒนาบนฐานข้อเท็จจริง ซึ่งใช้งานง่ายและจำลองสถานการณ์ได้:
- ข้อมูลเชิงลึกสามารถได้อย่างรวดเร็วโดยเปรียบเทียบผลเช่นยอดขาย, กำไร กับงบประมาณหรือปีก่อน
- ยอดขายเชิงปริมาณสามารถระบุพื้นที่ร้อน/เย็นในร้านค้า ช่วยให้พนักงานหน้าร้านเน้นสตีอกสินค้าที่เพียงพอ
- ค่าดัชนีชีวัด เช่นยอดขาย หรือ กำไรต่อพื้นที่/ต่อตารางเมตร สามารถนำมาใช้ประกอบการพิจารณาจัดสรรพื้นที่
ด้วยวิธีนี้ทำให้ใช้ประโยชน์ต่อพื้นที่ได้สูงสุด ในขณะเดียวกันก็ช่วยสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าในการเลือกซื้อสินค้าในร้าน
|
|
|
|